เสาแห่งความอัปยศ ฮ่องกง ของ เสาแห่งความอัปยศ

เสาแห่งความอัปยศ (จีน: 國殤之柱; ยฺหวิดเพ็ง: gwok3 soeng1 zi1 cyu5; พินอิน: Guóshāng zhī Zhù; แปลตรงตัว: "martyrs' pillar") ในฮ่องกง เป็นประติมากรรมทองแดง ตั้งขึ้นครั้งแรกในสวนสาธารณะวิกตอเรียเมื่อปี 1997 ในวาระการระลึกถึงการครบรอบแปดปีการสังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี 1989 ประติมากรรมนี้แสดงศพ 50 ร่างในรูปที่ถูกฉีกขาดและบิดเบี้ยว เพื่อแทนผู้ที่เสียชีวิตในการปราบปรามของรัฐบาล ในเดือนถัด ๆ มา ได้มีการย้ายประติมากรรมไปจัดแสดงตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วฮ่องกง เริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยจีนฮ่องกง และไปสิ้นสุดที่ มหาวิทยาลัยซิตีฮ่องกง

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 1998 เนื่องในวาระครบรอบเก้าปีของการสังหารหมู่ ได้มีการย้ายประติมากรรมกลับมายังสวนสาธารณะวิกตอเรียเพื่อทำพิธีจุดเทียนไว้อาลัย ในเช้าวันก่อนห้นาพิธีได้มีศิลหินเอาถังใส่สีสีแดงสองถังไปสาดใส่เสา อ้างว่า "เลือดของผองชน คือเลือดของเราเหมือนกัน"[3]

ในวันที่ 24 และ 25 กันยายน 1998 สมาพันธ์นักศึกษามหาวิทยาลัยฮ่องกง (HKUSU) ได้จัดการลงคะแนนเสียงเพื่อขอรับประติมากรรมนี้มาตั้งที่มหาวิทยาลัยฮ่องกงในระยะยาว ผลการลงคะแนนอยู่ที่มีผู้สนับสนุนที่ 1,629 จาก 2,190 เสียง[4] ประติมากรรมนี้จึงได้ย้ายมาตั้งที่ Haking Wong Podium อีกครั้งในวันที่ 3 ธันวาคม 1998 ก่อนจะย้ายไปตั้งที่งานจุดเทียนระลึกเหตุสังหารหมู่ครบ 10 ปีที่สวนวิกตอเรียอีกครั้ง ในปี 1999[5] และก็ย้ายกลับมาที่มหาวิทยาลัยอีกหลังเสร็จพิธี ทั้งนี้โดยที่ฝ่ายลริหารของมหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นผู้สนับสนุนให้ทำ[5][6]

ในวันที่ 30 เมษายน 2008 เสาแห่งความอัปยศถูกทาเป็นสีส้มในฐานะส่วนหนึ่งของ The Color Orange เพื่อเรียกร้องความสนใจให้แก่ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศจีน แต่ด้วย Galschiøt ถูกปฏิเสธห้ามเข้าฮ่องกง กลุ่ม Hong Kong Alliance in Support of Patriotic Democratic Movements in China จึงเป็นผู้ทำการทาสีส้มแทนโดยที่เขาไม่ได้มาร่วมงานด้วย

การรื้อถอน

ตามข้อมูลของสื่อในฮ่องกง มหาวิทยาลัยฮ่องกงได้ทำการกั้นเสาแห่งความอัปยศและพื้นที่โดยรอบในวันที่ 22 ธันวาคม 2021 และเมื่อเวลาใกล้เที่ยงคืน มหาวิทยาลัยได้ส่งยามและคนงานไปยังพื้นที่เสา[7] รวมถึงมีการเตรียมรถบรรทุกและเครนสำหรับการรื้อถอนเสา[8] ยามที่ล้อมรอบเสาได้พยายามป้องกันไม่ให้สื่อเข้าใกล้และถ่ายวิดีโอขณะรื้อถอน[9][10] ในเช้าวันที่ 23 ธันวาคม 2021 ก็ไม่พบประติมากรรมนี้อยู่อีกต่อไป[11] มหาวิทยาลัยอ้าง่วาประติมากรรมจะถูกนำไปเก็ยรักษาที่ Kadoorie Centre[12] Galschiøt ได้แสดงความตกใจในข้อความสาธารณะในวันเดียวกัน โดยเรียกฮ่องกงว่าเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน และเขาจะขอเรียกเงินชดเชยหากไม่ส่งประติมากรรมนี้คืนมาแก่เขา[13] ในวันที่ 24 ธันวาคม 2021 มหาวิทยาลัยจีนฮ่องกง (CUHK) และมหาวิทยาลัย Lingnan University ได้ทำการรื้อถอนอนุสรณ์ต่อการสังหารหมู่ที่เทียนอันเหมินในวิทยาเขตของตนตามเช่นกัน[14][15][16]

หลังการรื้อถอน Galschiøt ได้รับคำร้องขอมากกว่า 40 ฉบับให้ทำแบบจำลองของประติมากรรม เขาจึงตัดสินใจเพิกถอนการคุ้มครองสิทธิทางการค้าในผลงานชิ้นนี้ ทำให้ใครก็ตามสามารถทำชิ้นงานลอกเลียนได้ ภายใต้ข้อบังคับแค่ว่ารายได้ทั้งหมดต้องถูกมอบให้กับขบวนการสนับสนุนประชาธิปไตยของฮ่องกงเท่านั้น[17]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เสาแห่งความอัปยศ http://www.aidoh.dk/?categoryID=115 http://www.aidoh.dk/?categoryID=60 http://www.aidoh.dk/?categoryID=61 http://www.aidoh.dk/?categoryID=63 http://www.aidoh.dk/art_and_events/pos/berlin/ukpo... http://www.aidoh.dk/news_releases/pos/brazil/ukpos... http://www.thestandard.com.hk/news_detail.asp?pp_c... http://www.thestandard.com.hk/news_detail.asp?pp_c... http://www.thestandard.com.hk/news_detail.asp?pp_c... https://hk.on.cc/hk/bkn/cnt/news/20211223/mobile/b...